หน้าหลัก  การออกแบบ  การเขียนแบบ  เครื่องมือเขียนแบบ  เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ  การเขียนภาพในงานเขียนแบบ  สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเขียนภาพในงานเขียนแบบcart-sun.gif
 

1. การเขียนภาพฉาย
           การเขียนภาพฉาย เป็นวิธีเขียนอีกแบบหนึ่งที่เขียนแล้วสามารถมองเห็นลักษณะและรูปทรงของสิ่งนั้นๆ ได้ง่ายตามความเป็นจริง เพราะแบบงานที่จะนำไปใช้ผลิตจะต้องเป็นแบบที่มีรายละเอียดครบถ้วน วิธีการเขียนภาพฉายนั้นจะต้องเขียนลักษณะรูปทรงครบทุกด้าน คือด้านบน ด้านล่าง ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา ด้านหน้า และด้านหลัง แต่ถ้าเป็นรูปทรงที่มีลักษณะด้านตรงข้ามเหมือนกันก็นิยมเขียนเพียง 3 ด้าน คือ ด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง

        ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพฉาย

ภาพตู้ยา

        1.1  ให้ภาพที่มีรายละเอียดมากที่สุดเป็นด้านหน้า

                                                         

         1.2  ร่างเส้นฉายภาพด้วยเส้นบาง (เส้นสีฟ้า) ไปยังด้านบนเพื่อที่ต้องการทราบระยะว่ามีขนาดความยาวเท่ากับด้านหน้า

         1.3  เขียนภาพด้านบนให้อยู่ทางด้านบนของภาพด้านหน้า

         1.4  ร่างเส้นฉาย (เส้นสีฟ้า) จากภาพด้านหน้าไปยังด้านข้างโดยให้มีความสูงเท่ากับภาพด้านหน้าส่วนความกว้างของภาพด้านข้าง ให้ร่างเส้นฉายลงมาตัดกับเส้นที่เอียงทำมุม 45 องศา จากจุดตัดกับเส้น 45 องศา ให้ร่างฉายมายังภาพด้านบน (เส้นสีแดง)

         1.5  ลบเส้นร่าง(เส้นสีฟ้าและสีแดง) ออกใ้ห้หมด

         1.6  เติมรายละเอียดโดยการเขียนเส้นบอกขนาดของภาพ ด้วยเส้นบอกขนาดและเขียนกำกับใต้ภาพว่าเป็นภาพฉายด้านไหน

2.  การเขียนแบบภาพออบลิค

            รูปออบลิคเป็นแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับรูปไอโซเมตริก ส่วนที่แตกต่างกันคือ  ภาพออบลิคจะแสดงด้านหน้าตรงๆ ส่วนด้านข้างจะทำมุม 45 องศา เพียงด้านเดียว คือด้านขวามือ  เนื่องจากภาพออบลิคแสดงด้านหน้าได้ชัดเจนดี  จึงนิยมเขียนภาพที่มีรายละเอียดด้านหน้ามาก ๆ